ในหัวข้อที่ผ่านมา
เราได้รู้จักถึงเกตพื้นฐานชนิดต่างๆ และ พีชคณิตของบูลีนที่ช่วยในการอธิบายการดำเนินการของวงจรให้อยู่ในรูปนิพจน์และวิเคราะห์การทำงานของวงจรที่สร้างจากวงจรลอจิกเกตหลายๆแบบมาต่อรวมกันหรือ
เรียกว่าเป็นวงจรแบบคอมไบเนชั่น (Combination) วงจรคอมไบเนชั่น
นี้ไม่มีลักษณะของความจำ (Memory) เอาต์พุตของวงจรคอมไบเนชั่น
ขึ้นอยู่กับอินพุตในขณะนั้นๆ
1. ผลบวกของผลคูณ
(Sum-of-Product)
ในการลดรูปวงจรลอจิก
เราจะต้องการเรียนรู้การเขียน นิพจน์ในรูปของผลบวกของผลคูณ
ความหมายของผลบวกของผลคูณคือ เทอมของการแอนด์หลายๆเทอม ออร์กัน โดยที่เทอมแอนด์แต่ล่ะเทอมอาจมีตัวแปรอยู่ในรูปคอมพลีเมนต์หรือ อยู่ในรูปที่ไม่เป็นคอมพลีเมนต์ (ไม่กลับผลลอจิก) เพียงเท่านั้น
หมายเหตุจะไม่เครื่องหมายนิเสธครอบบนตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัว
(เช่น
หรือ
เป็นต้น )


2. ผลคูณของผลบวก
(Product-of-Sum)
รูปแบบทั่วไปอีกชนิดหนึ่งคือ
ผลคูณของผลบวก ที่ประกอบไปด้วยเทอมออร์หลายๆเทอม แอนด์กันอยู่
ในการลดรูปเราสามารถใช้นิพจน์ในรูปผลบวกของผลคูณแต่เพียงอย่างเดียวได้
ดังนั้น จะไม่กล่าวถึงการลดรูปโดยการใช้รูปผลคูณของผลบวก
3. การลดรูปวงจรลอจิก
เมื่อเราสามารถเขียนนอพจน์ของเอาต์พุตของวงจรลอจิกขึ้นมาได้
เราอาจจะสามารถลดรูปให้เป็นนิพจน์ใหม่ที่มีจำนวนเทอม หรือ จำนวนตัวแปรลดลง
ซึ่งทำให้เราใช้จำนวนเกตที่ลดลงด้วย ทำให้วงจรมีขนาดเล็กลงและราคาถูกลง
นอกจากนี้ความเชื่อมั่นของวงจรก็จะมีสูงขึ้นเนื่องจากมีจำนวนจุดต่อที่ลดลง
4. การลดรูปโดยวิธีทางพีชคณิต
เราสามารถใช้ทฤษฎีบทของบูลีนในการลดรูปนิพจน์สำหรับสร้างวงจรลอจิก
เป็นการยากที่จะระบุว่าควรใช้ทฤษฎีบทของบูลีนข้อใด ในการลดรูปนิพจน์
ให้อยู่ในรูปที่ง่ายที่สุด เพราะขึ้นอยู่กับการลองผิดลองถูกและความชำนาญของเฉพาะบุคคล
ในตัวอย่างต่อไปจะแสดงวิธีการลดรูปนิพจน์หลายๆวิธี
ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีขั้นตอนสำคัญๆ 2
ขั้นตอนคร่าวๆได้ดังนี้
1. ทำการแปลงนิพจน์ตั้งต้นให้อยู่ในรูปผลบวกของผลคูณ
โดยใช้ทฤษฎีบทของ ดีมอร์แกนและการคูณเทอม
2. เมื่อสามารถแปลงให้อยู่ในรูปของผลบวกของผลคูณได้แล้ว
จึงพิจารณาหาเทอมที่มีร่วมกัน แล้วทำการดึงเทอมร่วมนั้นออกมา
เพื่อหวังให้จำนวนเทอมลดลง
ตัวอย่าง
จงลดรูปวงจรลอจิกต่อไปนี้
วิธีทำ
ขั้นตอนแรกให้หานิพจน์ของเอาต์พุต
z ของวงจรลอจิก
ผลลัพธ์ที่ได้นี้เมื่อนำมาสร้างเป็นวงจรลอจิกในรูปที่
4.1(b) จะเห็นได้ว่ารูปวงจรมีความซับซ้อนน้อยลงเป็นอย่างมาก
5. การออกแบบวงจรลอจิกคอมไบเนชั่นจากตารางความจริง
ตัวอย่าง5.1
จงออกแบบวงจรลอจิกที่มีตารางความจริง ในตารางที่ 5.1
6. การลดรูปวงจรโดยการใช้ Karnaugh
Map
Karnaugh
map เป็นวิธีทางภาพที่ใช้ในการลดรูปสมการลอจิก ในทางปฎิบัติ
สามารถใช้กับตัวแปรบูลีนได้สูงสุด 6 ตัวแปร
สำหรับการสร้างตารางด้วยมือจะจำกัดที่ 4 ตัวแปร
ตัวอย่างตารางสำหรับ 2
ตัวแปร 3 ตัวแปร และ 4 ตัวแปร
แสดงไว้ในรูปที่ 6.1
การจับคู่เทอมที่เหมือนกัน
สามารถทำได้โดยการวงรอบเทอมที่อยู่ติดกัน เป็นแบบ 2 เทอม
4 เทอม และ 8 เทอม
โดยเทอมที่ตัวแปรในรูปคอมพลีเมนต์และรูปปกติจะถูกยุบไป
6.1 วงรอบ
2 เทอม
พิจารณาตัวอย่างการวงรอบเทอมที่อยู่ติดกันสองเทอม
7. Exclusive-OR และ Exclusive-NOR
วงจรลอจิกเกตแบบพิเศษที่นิยมใช้ในระบบดิจิตอลคือ
exclusive-OR และ exclusive-NOR
Ex-OR
เป็นลอจิกเกตที่เอาต์พุตจะเป็น
“1” เมื่ออินพุตมีลอจิกที่ต่างกัน นิพจน์ของ
Ex-OR สามารถเขียนได้เป็น
วิธีทำ
เอาต์พุตของ Ex-OR สามารถสเก็ตได้จากความจริงที่ว่า
เอาต์พุต จะเป็น “1” เมื่อ อินพุตมีลอจิกต่างกัน
ผลลัพธืที่ได้มีจุดที่น่าสนใจดังนี้
1. รูปคลื่นของเอาต์พุต
x จะเหมือนกับอินพุต A ในระหว่างที่
B = 0 (ในช่วงเวลา t0
ถึง t1 และ
t2 ถึง t3)
2. รูปคลื่นของเอาต์พุต x จะตรงกันข้ามกับอินพุต
A ในระหว่างที่ B = 1 (ในช่วงเวลา
t1 ถึง
t2)
3. จะสังเกตได้ว่า
Ex-OR สามารถนำมาใช้เป็น นอตเกตที่ควบคุมได้
โดยอินพุตหนึ่งสามารถนำมาใช้ในการควบคุมขั้วของลอจิกของอีกอินพุตหนึ่งได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น